สวัสดีครับ คุณ Arnon
แต่เดิมแล้วการนำขยะมาก้าจัดโดยวิธีเผาเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะที่สะสมอยู่ ซึ่งความร้อนจากไอน้าที่ได้จากการเผาขยะจะสามารถนำไปขับเครื่องกังหันเพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าใช้งานต่อไป กระทรวงพลังงานจึงมีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งจะเป็นการนำขยะชุมชนเข้ามาเผาในเตาเผาโดยตรง หรือมีการคัดแยกขยะชุมชนส่วนที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ออกไป และนำมาผลิตเป็นเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF : Refuse Derived Fuel) ก่อนแล้วจึงน้าเข้าเตาเผาขยะ
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ที่ได้มีการก้าหนดเป้าหมายการรับซือไฟฟ้าจากขยะชุมชน 500 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 50 เมกะวัตต์ และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2018) ที่กำหนดแนวทางให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาก้าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมในส่วนของโรงไฟฟ้าขยะชุมชนอีก 400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมอีก 44 เมกะวัตต์
ทำให้ปัจจุบันเกิดโรงไฟฟ้าขยะที่มีสัญญาผูกพันกับภาครัฐแล้ว โดยจำแนกได้เป็น
1. โรงไฟฟ้าขยะชุมชน ประเภท VSPP (Very Small Power Producer)
– โครงการที่มีการซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) จำนวน 33 โครงการ กำลังการผลิต 314.671 เมกะวัตต์
– โครงการที่มีการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าแล้ว (PPA) แต่ยังไม่ได้ COD จำนวน 5 โครงการ กำลังการผลิต 55.79 เมกะวัตต์
– โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการ Quick Win) จำนวน 11 โครงการ กำลังการผลิต 83.04 เมกะวัตต์
2. โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
– โครงการที่มีการเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าแล้ว (PPA) จำนวน 7 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 41.83 เมกะวัตต์ เสนอขาย 30.78 เมกะวัตต์ และซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) จำนวน 5 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 32.1 เมกะวัตต์ เสนอขาย 26.4 เมกะวัตต์
และโครงการกำจัดขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว รวมทั้งสิ้น 22 โครงการ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 220.8 เมกะวัตต์ และปริมาณเสนอขายรวม 198.07 เมกะวัตต์