เว็บบอร์ดด้านพลังงาน › ฟอรั่ม › น้ำมัน › ราคาน้ำมันไทย
- This topic has 1 ข้อความตอบกลับ, 2 เสียง, and was last updated 1 year, 4 months มาแล้ว by
MOEN-MOD1.
-
ผู้เขียนข้อความ
-
เมษายน 2, 2021 เวลา 11:12 am #137
Natdanai
Participantเพราะเหตุใดราคาน้ำมันของประเทศไทย ถึงได้อ้างอิงจากราคาน้ำมันประเทศสิงคโปร์ ซึ่งราคาน้ำมันของไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในระแวกนี้ ทั้งที่ไทยก็มีแหล่งขุดเจาะน้ำมันในประเทศ จึงอยากทราบว่า ในกรณีที่มีแหล่งน้ำมันในประเทศอยู่แล้ว ทำไมราคาน้ำมันถึงได้สูงนักสำหรับค่าครองชีพในประเทศไทย และสำหรับระแวกประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเหตุใด แล้วน้ำมันที่ทางประเทศไทยเราขุดเจาะออกมา น้ำมันดิบส่วนนั้นไปไหน
เมษายน 2, 2021 เวลา 11:43 am #140MOEN-MOD1
Participantสวัสดีครับ คุณ Natdanai
สาเหตุที่ราคาน้ำมันของประเทศไทยต้องอ้างอิงราคาจากราคาน้ำมันประเทศสิงคโปร์ เนื่องมาจาก
– ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
– ราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับกับอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในตลาดเอเชีย และตลาดโลก มีความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตและผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย สะท้อนภาวะตลาดในภูมิภาคค่อนข้างสมบูรณ์
– ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสาเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยเหตุนี้ การกำหนดราคาของโรงกลั่นในประเทศไทยใช้การเทียบเคียงการนำเข้าจากสิงคโปร์ เพราะตลาดสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และมีโรงกลั่นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพจำนวนมาก การอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์จึงทาให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยต่ำที่สุด เพราะมีค่าขนส่งมายังไทยถูกที่สุด และกระทรวงพลังงานก็ต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมัน ให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนที่ว่าทำไมราคาน้ำมันถึงได้สูงนักสำหรับค่าครองชีพในประเทศไทย และสำหรับละแวกประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศมาเลเซีย) นั้น
เกิดมาจากปัจจัยของ
1. ต้นทุนค่าขนส่งของประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นแตกต่างกันตามระยะทาง ทำให้ราคาน้ำมันของไทยสูงกว่ามาเลเซียที่ใกล้กับสิงคโปร์มากกว่า
2. ต้นทุนคุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร 4) สูงกว่าบางประเทศในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีคุณภาพน้ำมันในระดับที่ต่ำกว่า
3. เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล) ที่เป็นส่วนผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10, E20, E85, 91 E10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี7 บี10 และบี20 ตามนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนในประเทศไทยมีราคาสูงกว่า ดังนั้น ต้นทุนเนื้อน้ำมันของไทยสูงกว่าน้ำมันของมาเลเซีย
4. โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยมีการเก็บภาษีและเงินกองทุน (กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และภาษีต่างๆ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้นจากต้นทุนเนื้อน้ำมัน
5. บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน อาทิ มาเลเซีย ไม่มีการจัดเก็บภาษีและกองทุน เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกน้ำมันดังกล่าวในการบริหารประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิซึ่งจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีน้ำมันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณในการบริหารประเทศ -
ผู้เขียนข้อความ
- คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้